ส่องแนวทางการทำทีมของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในรอบ 10 ปี

ส่องแนวทางการทำทีมของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในรอบ 10 ปี

ส่องแนวทางการทำทีมของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในรอบ 10 ปี

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชื่อนี้เป็นที่รู้จักต่อคนที่ติดตามและไม่ติดตามฟุตบอล เพราะด้วยความสำเร็จอย่างเป็นกอบเป็นกำ กระทั่งก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของฟุตบอลไทย แม้ในช่วง 2 ปีหลัง จะดูดรอปๆลงไป ฉะนั้นในวันนี้เราจะย้อนไปดูว่าปราสาทสายฟ้า มีนโยบายการทำทีมอย่างไรบ้าง ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

เนวิน ชิดชอบ ซื้อหุ้นทีมการไฟฟ้า 70% พร้อมกับยกทีมมาอยู่ที่บ้านเกิดจังหวัดบุรีรัมย์ แล้วเปลี่ยนชื่อจาก การไฟฟ้า มาเป็น บุรีรัมย์ พีอีเอ แล้วปี 2012 ได้ซื้อหุ้นที่เหลือ 30% ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อทีมอีกครั้งเป็น บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในปี 2012 สำหรับแนวทางการทำทีมในช่วง 1-2 ปีแรก พยายามใช้วิธีกวาดซื้อตัวผู้เล่นไทยที่มีชื่อเสียง ขณะที่ตัวต่างชาติเลือกนำเข้ามาเพื่อสร้างความแตกต่าง นอกจากนี้นายใหญ่แห่งถิ่นปราสาทสายฟ้า ยังมีการอัดฉีดแบบใจป้ำเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่นักเตะ เช่น ชนะให้ 3-5 แสนบาท แล้วถ้ายิงได้บวกเพิ่มลูกละ 1 แสนบาท

ช่วงปี 2012-2015 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ด้วยการซื้อนักเตะไทยโดยคำนึงจากศักยภาพที่เข้ามาแล้วเล่นได้ดี มากกว่าจะอิงชื่อเสียง เช่น ประทุม ชูทอง, สุรัตน์ สุขะ, อดุลย์ หละโสะ หรือ นฤบดินทร์ วีระวัฒน์โนดม เป็นต้น ส่วนตัวต่างชาติไม่แลสายตาไปหานักเตะจากแอฟริกาอีกแล้ว หากแต่โฟกัสไปที่นักเตะอเมริกาใต้-ยุโรป ขณะที่โควตาเอเชีย ติดใจกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งในช่วงเวลานี้การคว้านักเตะต่างชาติล้วนปังแบบสุดๆ ทำให้ผลงานก็เยี่ยมสุดๆเช่นกัน กับการคว้าแชมป์ทุกถ้วยทุกในประเทศ แถมด้วยการไปเฉิดฉายบนเวที ACL ถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ในปี 2013

ปี 2016-2020 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ประกาศกร้าวที่จะไม่ซื้อตัวนักเตะไทยราคาแพงอีกเป็นอันขาด พร้อมกันนั้นได้หันเหมาดันเด็กจากอะคาเดมี่ขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ โดยท่านประธานสโมสรได้ตั้งเป้าหมายสูงสุด คือ นักเตะไทยในทีมชุดใหญ่ต้องเป็นคนบุรีรัมย์ ขณะที่ตัวต่างชาติยังเลือกนำเข้าเหมือนเดิม แต่มันเริ่มจะไม่ปังเหมือนก่อนหน้านี้ ทำให้ปราสาทสายฟ้าต้องเปลี่ยนตัวโควตาต่างชาติทุกครึ่งเลก ซึ่งด้วยความที่ตัวต่างชาติไม่สามารถยกระดับทีมได้ มันก็มาผสมผเสกับตัวนักเตะไทยที่อายุและประสบการณ์น้อย ก็ยิ่งทำให้ บุรีรัมย์ ยูไยเต็ด เก็บเกี่ยวความสำเร็จได้ยากขึ้น กระทั่งปี 2020 ที่ตกต่ำสุดๆกับการไม่มีแชมป์ติดมือเลย

ปี 2021 – และนับจากนี้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เหมือนได้เรียนรู้ถึงความผิดพลาดว่าการมีนักเตะไทยที่อายุน้อยค่อนทีม มันส่งผลเสียหายมหาศาลหากนักเตะต่างชาติเล่นไม่ได้ ทำให้นายใหญ่แห่งถิ่นปราสาทสายฟ้า เริ่มกลับมาใช้นโยบายการดึงนักเตะไทยราคาแพงอีกครั้ง เช่น จักรกฤษณ์ ลาภตระกูล, พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี เป็นต้น ส่วนตัวต่างชาติ เหมือนจะมีการแลมองจากทีมเพื่อนร่วมลีกหากฝีเท้าดี เพราะการนำเข้าในช่วงโควิด-19 มันต้องรอและมีความเสี่ยงที่จะเล่นไม่ออก ในขณะที่ทีมยังคงตั้งเป้าหมายว่ามาแล้วต้องเล่นได้เลย

 

 

# ส่องแนวทางการทำทีมของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในรอบ 10 ปี